วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

ความรู้ทางการวิจัย

อ่านเรื่อง อุปมาน อนุมาน ได้ที่ >> ความรู้ทางการวิจัย 

ผมนึกถึงตอนเรียน เรามีการสรุปแบบ อนุมาน กับ อุปมาน เพราะ

เดี๋ยวนี้คนแสดงความเห็นกันได้ง่ายขึ้นเพราะมี social network จะวิจารณ์อะไรก็เป็นประเด็นตอบโต้กัน เช่นมีการพูดกันว่า 30บาทตายทุกโรค เหตุที่พูดแบบนั้นเพราะำได้ยินคนแถวบ้านบอกแค่เคสเดียว แล้วสรุปเลย ว่ารักษาไม่ดี มันเหมือนพูดโดยวิธี อุปมาน แต่ เป็นอุปมานที่ข้อมูลน้อยเกินไป ถ้าจะพูดได้ ผู้พูด ต้องไปถามมาให้หมดทุกคนที่เคยใช้บริการ 30บาทรักษาทุกโรค ถ้าทำไม่ได้ อย่างน้อยก็ต้องสุ่มตัวอย่าง ตามหลักการของวิชาสถิติ ไปถามว่า รักษาดี หรือ ไม่ดี

บางทีมีผลโพลออกมามันไม่ตรงกับความรู้สึกของเราเอง ก็บอกว่า โพลเอียง ซึ่งจริง ๆ แล้ว เราอาจจะอยู่ในกลุ่มคนส่วนน้อยก็ได้ จะรู้ว่าเอียงไม่เอียง ต้องไปอ่าน paper ฉบับเต็มที่เค้าทำวิจัยครับ เค้ามีวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างไร ตัวอย่างนั้นเพียงพอที่จะเป็นตัวแทนของประชากรหรือไม่ ตัวอย่างนั้นกระจายตัวดีหรือไม่ มีการตัด Bias ออกหรือไม่ บางคนบอกว่าเค้าไปถามกันตรงไหน ไม่เคยเห็นเลย ก็แหงล่ะ ประชากร 60 ล้านคน 77 จังหวัด เค้าสุ่มตัวแทนแค่หลักพัน (ผมเดานะ) เราคงไม่ได้เห็นการไล่แจกแบบสอบถามกันเกร่อ โพลออกมาเพื่อเสนอหรือตอบคำถามบางอย่างที่คนในสังคมสนใจ สำหรับคนธรรมดา ๆ อย่างเรา ๆ ก็แค่ รับรุ้แล้วก็ผ่านไป แต่คนที่จะใช้ข้อมูลจริง ๆ เพื่อการบริหาร เค้าคงจะต้องทำสำรวจเอง เค้าคงไม่เชื่อโพลตลาด ๆ แบบที่เป็นข่าวออกสรยุทธ์หรอกครับ


ไม่มีความคิดเห็น: