- ทั้งการรับจำนำข้าว และ การประกันราคาข้าว เป็นการแทรกแทรกกลไกตลาดโดยรัฐ ซึ่ง นักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิค ไม่เห็นด้วย อย่างยิ่ง
- อย่างไรก็ตาม การแทรกแทรงกลไกตลาด ด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยรัฐ มีการทำมาตลอดยาวนาน ไม่ว่าจะว่าด้วยเรื่องการตั้งกำแพงภาษี การควบคุมราคาสินค้าเกษตร การเข้ามาทำวิสาหกิจด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานต่าง ๆ เพราะเห็นว่ายังมีความจำเป็นอยู่ เพื่อต้องการดูแลประชาชนในส่วนที่คิดว่ามีความสามารถในการแข่งขันน้อย
- ดังนั้น การใช้นโยบายเพื่อแทรกแทรงกลไกต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นการบริหารงานของรัฐ ตามหลักทางเศรษฐศาสตร์มหภาค ไม่ใช่แนวทางการค้ากำไรเหมือนเอกชนทั่วไป ฉะนั้น การเถียงกันว่าการรับจำนำข้าวจะทำให้รัฐบาลขาดทุน สูญเสียภาษีของประชาชน ผมมองว่าไร้สาระ
- เพราะภาษีของประชาชน จัดเก็บจากประชาชน เข้าสู่คลังของรัฐ เพื่อให้ รัฐบาลใช้จ่ายกลับออกมาตามนโยบาย เพื่อประโยชน์ของประชาชนอยู่แล้ว
- คือมันไม่ใช่ว่าจะมองแค่ว่า ชาวนาได้ประโยชน์ เราไม่เห็นได้อะไร ไปอุ้มชาวนาทำไม เพราะนี่มันคือเรื่องเดียวที่รัฐบาลนำงบประมาณแค่ส่วนเดียวมาใช้ มีเรื่องอีกร้อยแปดพันประการที่รัฐบาลนำเงินภาษีมาใช้เพื่อคนกลุ่มอื่น ซึ่งคุณคนที่ด่าชาวนาก็อาจจะได้ประโยชน์ตรงส่วนอื่นไป
- ดังนั้นการจะรับจำนำข้าว หรือ การจะประกันราคาข้าว รัฐบาลจึงไม่ได้ตัดสินใจเลือกเพราะมองว่าอันไหนที่รัฐบาลจะได้กำไรมากกว่ากัน แต่รัฐบาลจะเลือกเพราะคิดว่า อันไหน ชาวนาจะได้ประโยชน์มากที่สุด แต่อย่างไรก็ตามถ้ารัฐบาลสามารถประหยัดงบประมาณได้มาก ตรงนั้นถือว่าเป็นประสิทธิภาพในการทำงาน
ปล. ผมเพิ่งรู้ว่า มือที่มองไม่เห็น ( Invisible hand ) เป็นศัพท์ในวิชาเศรษฐศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น