วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

ความฉลาด 7 แบบ คุณเป็นแบบไหน? (จิตวิทยาน่าอ่าน)

Logical & Mathematical Intelligence หรือ ความฉลาดด้านตรรกะและคณิตศาสตร์

ความฉลาดด้านภาษา หรือ Linguistic Intelligence

ความฉลาดด้านมิติ หรือ Spatial Intelligence

ความฉลาดด้านร่างกาย หรือ Bodily Intelligence

Musical Intelligence หรือ ความฉลาดด้านดนตรี

ความฉลาดด้านมนุษยสัมพันธ์ หรือ Interparsonal Intelligence

Intrapersonal Intelligence หลายคนรู้จักกันดีในชื่อของ EQ หรือ ความฉลาดทางอารมณ์

อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

10เรื่องน่ารู้ที่หลายๆคนยังไม่รู้


1 .การแลบลิ้นให้น้ำลายยืดลงพื้น 3 หยดจะแก้เผ็ดได้ จริงหรือ
เฉลย: จริง
อาการเผ็ดเกิดจากสารที่ชื่อ แคปไซซิน ที่อยู่ในพริกเข้าไปจับกับปลายประสาทรับรถที่ลิ้น ร่างกายจะก็จะแสดงปฎิกริยาโดยขับน้ำลายออกมาชะล้างเอาเจ้าสารนี้ออกไป


2. ดูดนมยางของเด็กทารกตอนนอนจะแก้อาการนอนกรนได้ จริงหรือ
เฉลย: จริง
การคาบหรืออมนายางของเด็กทารกไว้ในปากจะทำให้ลิ้นในปากอยู่นิ่ง ก็จะพลอยให้เนื้อเยื่อของเพดาน
ไม่กระเทือนสั่นไหว ขึ้นจึงไม่เกิดอาการกรนและไม่นอนอ้าปากอีกด้วย

3. การสูดกลิ่นตัวผู้ชายทำให้หายเครียดได้ จริงหรือ
เฉลย: จริง
เพราะกลิ่นตัวผู้ชายที่เป็นคนรักนั้นมีสาร ฟีโรโมน ผสมอยู่โดยเฉพาะในผมและผิวของเขา เมื่อสูดดมแล้วจะช่วยลดอาการเครียดและเหนื่อยล้าลงได้

4. แอปเปิ้ลผลิตกระแสไฟฟ้าได้ จริงหรือ
เฉลย: จริง
ถ้าเสียบแผ่นสังกะสี และแผ่นทองแดง กรดในแอปเปิ้ลจะทำให้เกิดการแตกตัวของไอออน ทำให้ลูกแอปเปิ้ลเป็นเหมือนแบตเตอรี่ ซึ่งผลไม้ชนิดอื่นเช่น มะนาว เกรปฟรุ๊ต หรือมันฝรั่ง ก็ทำได้เช่นกัน

5. ปัสสาวะมนุษย์ใช้ทำยาสีฟันในสมัยโบราณ จริงหรือ
เฉลย: จริง
โดยแพทย์ชาวโรมันเชื่อว่า ปัสสาวะมนุษย์ มีคุณสมบัติทำให้ฟันขาว และแข็งแรง ยาสีฟันในยุคดังกล่าว จึงเป็น น้ำยาบ้วนปากที่ทำจากปัสสาวะมนุษย์

6. วัวกระทิงเกลียดสีแดง จริงหรือ
เฉลย: ไม่จริง
เพราะ วัวเป็นสัตว์ตาบอดสี ไม่สามารถแยกแยะสีต่างๆ ได้ แต่การที่วัวเมื่อถูกล่อด้วยผ้าแดงเหมือนในสนามสู้วัว แล้วก็พุ่งเข้าใส่นั้น เป็นเพราะความรำคา­ และเพราะถูกยั่วยุมากกว่า


7. เพชรแท้จะไม่ติดสีหมึก จริงหรือ
เฉลย: จริง
การทดสอบดูเพชรแท้นั้น ให้ป้ายน้ำหมึกสีดำไปบนเพชร ถ้ามีความลื่นออก ไม่ติดอยู่บนเพชร แสดงว่าเป็นเพชรแท้ แต่ถ้ายังมีจุดดำตรงที่แต้มอยู่ ก็แสดงว่าเป็นเพชรเทียม

8. การทะเลาะกันทำให้แผลหายช้า จริงหรือ
เฉลย: จริง
เพราะ ความเครียดที่เกิดขึ้น ทั้งระหว่าง และหลังจากการทะเลาะกัน จะส่งผลให้ร่างกายลดการผลิตโปรตีนเม็ดเลือด ที่มีประโยชน์ต่อการรักษาบาดแผล หรือส่วนที่สึกหรอในร่างกายให้น้อยลงทำให้บาดแผลต่างๆ หายช้า

9. แสงแดดอ่อนๆ ช่วยป้องกันโรคซึมเศร้าได้ จริงหรือ
เฉลย: จริง
เพราะ แสงแดดอ่อนๆ จะช่วยลดการสร้างฮอร์โมน เมลาโตนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการนอนหลับ ถ้าหากเก็บตัวอยู่แต่ในที่มืดจะทำให้ฮอร์โมนตัวนี้สูงขึ้น และอาจส่งผลให้เกิดการง่วง เหงา ซึมเซาได้

10. การฟังเพลงช่วยบรรเทาอาการปวดข้อได้ จริงหรือ
เฉลย: จริง
เพราะการฟังเพลงทำให้สมองหลั่งสารเอนดอร์ฟินส์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนสร้างความสุขออกมา ช่วยลดความดันโลหิต และ บรรเทาอาการปวดข้อลงได้

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

มาตรฐานในการตั้งชื่อตัวแปร

มาตรฐานในการตั้งชื่อตัวแปร มีอยู่ด้วยกันหลายแบบ แล้วแต่ใครจะชอบแบบไหน ก็ตกลงกับคนในทีมแล้วก็ใช้มันไป ถ้าทำงานคนเดียวก็คงไม่ต้องตกลงกับใครชอบอันไหนก็เอาอันนั้น

Hungarian Notation
ใช้ตัวย่อของประเภทของตัวแปร (Type) ขึ้นต้น สามตัวอักษรหรือหนึ่งตัวอักษรก็แล้วแต่จะตกลงกัน โดยให้ตัวย่อของประเภทเป็นตัวเล็กทั้งหมด และตัวอักษรตัวแรกของแต่ละคำต้องเป็นตัวใหญ่
ตัวอย่าง : strFirstName, iNumberOfDays

Camel Case
คล้ายกับ Hungarian Notation แต่ไม่ได้ใช้อักษรย่อของประเภทของตัวแปรมาเป็นชื่อ โดยให้คำแรกเป็นตัวเล็กทั้งหมด และให้ตัวอักษรแรกของคำต่อๆไปเป็นตัวใหญ่

ตัวอย่าง : firstName, numberOfDays

Pascal Case
เป็นกฏการตั้งชื่อที่กำหนดให้ตัวอักษรแรกของแต่ละคำเป็นตัวใหญ่

ตัวอย่าง : BackColor, FirstName

Upper Case
กำหนดให้ใช้ตัวใหญ่ทั้งหมด

ตัวอย่าง : ID, PI

Underscores
ใช้ _ ในการแบ่งคำแต่ละคำออกจากกัน (เลิกใช้ได้แล้ว)

ตัวอย่าง : underscore_naming_convention


copy ดัดแปลงจาก
credit : http://www.unzeen.com